วันศุกร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2555


หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 การออกแบบการเรียนการสอน

ความหมายของการออกแบบการสอน (Instructional Design)
การออกแบบการสอน (Instructional Design) เป็นการนำหลักการทางวิทยาศาสตร์มาใช้อย่างเป็นระบบเพื่อให้การออกแบบหรือการวางแผนการสอนมีประสิทธิภาพสูงสุด หลักการออกแบบการสอน (Instructional Design) เป็นสิ่งแนะนำ แนวทางสำ หรับครูผู้สอนหรือผู้ออกแบบการสอน (Instructional Designer)ให้ประสบผล สำเร็จในการออกแบบ และรู้แนวทางในการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อการวิจัย และสร้างเสริมประสบการณ์ ในการออกแบบการสอน (Instructional Design)เพื่อนำความรู้ที่มีอยู่อย่างหลากหลายไปสู่ผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การออกแบบการสอน (Instructional Design)  เป็นทั้งกระบวนการสำหรับการจัดเตรียมโปรแกรมการสอนอย่างเป็นระบบและหลักการทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ของบุคคล ทั้งกระบวนการ และหลักการดังกล่าวมาเป็นสิ่งที่
จำเป็นและสำคัญอย่างยิ่งในการออกแบบการสอน ซึ่งจะขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งไปไม่ได้
 การจัดการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนเรียนรู้อย่างเข้าใจ
            จัดการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างเข้าใจในแต่ละเรื่องไว้  ดังนี้
1.ได้รับความรู้
2.สรุปเป็นองค์ความรู้
3.นำความรู้ไปใช้ในสถานการณ์ ใหม่ที่สัมพันธ์กับชีวิตประจำวัน
         ในการจัดการเรียนรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่ง ถ้าจะให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างเข้าใจแล้ว ครูต้องจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้รับความรู้โดยการให้ผู้เรียนศึกษาหาความรู้จากกิจกรรมที่ครูจัดให้ ไม่ใช่ครูบอกความรู้ หรือครูบอกความเข้าใจของครูให้กับผู้เรียน จากนั้น ครูจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนสรุปความรู้ที่ได้รับเป็นองค์ความรู้(อย่างเข้าใจ)เป็นภาษาของตนเอง เพื่อให้เป็นองค์ความรู้ที่ฝังอยู่ในตัวของผู้เรียน และสุดท้ายต้องจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้นำองค์ความรู้นี้ไปใช้ในสถานการณ์ใหม่ ที่เป็นสถานการณ์ที่เป็นสภาพจริง สอดคล้องกับชีวิตประจำวัน หรือสอดคล้องกับการดำรงชีวิต เป็นการนำความรู้ ความเข้าใจ ที่ได้รับไปใช้ในการดำรงชีวิต จึงจะครบกระบวนการจัดการเรียนรู้สำหรับเรื่องหนึ่ง ๆ ที่เป็นการจัด การเรียนรู้ที่มีความหมายสำหรับผู้เรียน และเป็นการจัดการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนเรียนรู้เรื่องที่เรียนอย่างเข้าใจ ได้องค์
ความรู้ หรือเป็นความเข้าใจที่ฝังอยู่ในตัวของผู้เรียน ที่เรียกว่า  “ความเข้าใจที่คงทน
การออกแบบการจัดการเรียนรู้
การออกแบบการจัดการเรียนรู้อิงมาตรฐาน เป็นการออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่มีมาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด เป็นเป้าหมายของการจัดการเรียนรู้ การจัดทำหน่วยการเรียนรู้อิงมาตรฐาน เป็นหน่วย            การเรียนรู้ที่มีมาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด เป็นเป้าหมายการเรียนรู้ของหน่วยฯ ในการออกแบบการจัด               การเรียนรู้อิงมาตรฐาน ครูผู้สอนต้องจัดทำโครงสร้างรายวิชาก่อน ซึ่งมีขั้นตอนการดำเนินการ ดังนี้
1.จัดทำโครงสร้างรายวิชา
2.กำหนดเป้าหมายการจัดการเรียนรู้
3.กำหนดหลักฐานที่เป็นผลการเรียนรู้ตามเป้าหมายที่กำหนด(ออกแบบการประเมินผล
การเรียนรู้ และกำหนดชิ้นงาน/ภาระงาน)
4.ออกแบบการจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถตามเป้าหมายที่กำหนด(โดย
ตรวจสอบผลการจัดการเรียนรู้จาก “หลักฐานที่เป็นผลการเรียนรู้”
1.         กำหนดชื่อหน่วยการเรียนรู้ โดยพิจารณาคำ/ข้อความสำคัญ(Key words) หรือเนื้อหา
ในตัวชี้วัดของรายวิชามาจัดกลุ่ม โดยนำตัวชี้วัดที่มีเนื้อหาอยู่ในกลุ่มเดียวกัน หรือเป็นเรื่องเดียวกัน  มารวมกันจัดเป็น 1 หน่วยการเรียนรู้ ซึ่งใน 1 รายวิชาจะมีหลายหน่วยฯ และแต่ละหน่วยฯ จะมีตัวชี้วัดซ้ำหรือไม่ซ้ำกันก็ได้ อยู่ในดุลพินิจของผู้สอน แต่เวลาที่ใช้จัดการเรียนรู้รวมทั้งหมด ต้อง ไม่เกินจำนวนชั่วโมงที่กำหนดในโครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษา แล้วตั้งชื่อหน่วยให้น่าสนใจสำหรับผู้เรียน
2.ระบุมาตรฐานการเรียนรู้ และตัวชี้วัดที่นำมาจัดทำเป็นหน่วยการเรียนรู้แต่ละหน่วย
3.กำหนดสาระสำคัญสำหรับแต่ละหน่วยการเรียนรู้ เป็นข้อความที่ระบุว่าผู้เรียนรู้อะไร
มีทักษะอะไร และหน่วยนี้มีคุณค่าต่อผู้เรียนอย่างไรในระยะสั้นและ ระยะยาวโดยร้อยเรียงข้อมูลของทุกตัวชี้วัด และเขียนเป็นองค์ความรู้ ของหน่วยฯ โดยเขียนเป็นลักษณะหลักการทั่วไป หรือหลักวิชาของหน่วยฯ นั้น ๆ ที่ต้องการให้เป็นองค์ความรู้ เป็นความเข้าใจที่ฝังติดตัวผู้เรียนไปเป็นเวลานาน และสามารถนำมาใช้ได้เมื่อต้องการ เช่น “พืชตอบสนองต่อแสง เสียง และ                 การสัมผัส ซึ่งเป็นสภาพแวดล้อมภายนอก เพื่อการอยู่รอด”  “การบวก คือการนำจำนวนตั้งแต่สองจำนวนขึ้นไปมารวมกัน จำนวนที่ได้จากการรวมจำนวนต่าง ๆ เข้าด้วยกัน เรียกว่า ผลรวม หรือ ผลบวก และใช้เครื่องหมาย + เป็นสัญลักษณ์แสดงการบวก”  “พืชและสัตว์ต้องการอาหาร น้ำและอากาศ เพื่อการดำรงชีวิต และการเจริญเติบโต” “การดำรงชีวิตท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงโดยประยุกต์ใช้แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงทำให้ชีวิตมีความสุข”  
4.กำหนดระยะเวลา(จำนวนชั่วโมง)สำหรับแต่ละหน่วยการเรียนรู้ รวมทุกหน่วยฯ แล้ว
มีจำนวนชั่วโมงเท่ากับจำนวนชั่วโมงของรายวิชา
5.กำหนดคะแนนของแต่ละหน่วยการเรียนรู้ตามความสำคัญของแต่ละหน่วยฯ เพื่อการ
ประเมินผลการเรียนรู้ของแต่ละหน่วยฯ ให้เหมาะสมตามความสำคัญของแต่ละหน่วยฯ
การจัดทำโครงสร้างรายวิชา อาจจะใช้แบบฟอร์มในการบันทึก
การจัดทำหน่วยการเรียนรู้
            การจัดทำหน่วยการเรียนรู้อิงมาตรฐาน เป็นหน่วยการเรียนรู้ที่มีมาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด         เป็นเป้าหมายของหน่วยฯ ขั้นตอนนี้ เป็นขั้นตอนสำคัญที่สุดของการใช้หลักสูตรสถานศึกษา เป็นการนำมาตรฐานการเรียนรู้สู่การปฏิบัติในการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียน
            การออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่ คือ ออกแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค ซึ่งมี 3 ขั้นตอนใหญ่ ๆ ได้แก่
1)        กำหนดเป้าหมายการเรียนรู้
2)        กำหนดหลักฐานที่เป็นผลการเรียนรู้ของผู้เรียนตามเป้าหมายการเรียนรู้ที่กำหนด
3)        ออกแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนมีผลการเรียนรู้ตามเป้าหมายที่กำหนด
ขั้นที่ 1 กำหนดเป้าหมายการเรียนรู้ จากที่เป็นหน่วยการเรียนรู้อิงมาตรฐาน เป้าหมาย
การเรียนรู้ของหน่วย
ขั้นที่ 2 กำหนดหลักฐานที่เป็นผลการเรียนรู้ของผู้เรียน เป็นการนำเป้าหมายทุกเป้าหมาย(สาระสำคัญ ตัวชี้วัดทุกตัวชี้วัด คุณลักษณะ(ของหน่วยฯ) และคุณลักษณะอันพึงประสงค์) มากำหนดหลักฐานที่เป็นผลการเรียนรู้ของผู้เรียน อาจจะใช้ตาราง
ขั้นที่ 3 ออกแบบการจัดการเรียนรู้ แนวดำเนินการ ดังนี้
1)        จัดลำดับหลักฐานที่เป็นผลการเรียนรู้ โดยนำหลักฐานที่เป็นผลการเรียนรู้ทั้งหมด
ที่ระบุในในขั้นที่ 2 (หลักฐานที่ซ้ำกัน ให้นำมาจัดลำดับครั้งเดียว) ตามลำดับที่ครูผู้สอนจะทำการสอนผู้เรียน ให้เป็นลำดับให้เหมาะสม
การออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่ดี มีข้อควรพิจารณา ดังนี้
1. มีเป้าหมายชัดเจนที่เป็นรูปธรรม และท้าทาย
2. แสดงเทคนิคการจัดการเรียนรู้ที่แตกต่างจากแบบธรรมดา
3. เรื่องที่เรียนเป็นเรื่องที่สำคัญ และน่าสนใจต่อผู้เรียน
4. สอดคล้องกับสถานการณ์จริงในชีวิตประจำวัน และมีความหมายต่อผู้เรียน
5. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ลองผิดลองถูกโดยมีการให้ข้อมูลป้อนกลับที่ชัดเจน
6. เน้นเพื่อผู้เรียนเป็นรายบุคคล เปิดโอกาสให้ผู้เรียนใช้วิธีหลากหลายวิธีในการทำงานที่ได้รับมอบหมายตามความสนใจของตนเอง
7. มีรูปแบบการจัดการเรียนรู้ และตัวอย่างที่ชัดเจน
8. จัดเวลาให้มีการสะท้อนความคิดเห็น
9. ใช้หลายเทคนิคการสอน มีหลายวิธีในการแบ่งกลุ่มผู้เรียน และมีการมอบงานหลายลักษณะให้ผู้เรียนทำ
10. มีการดูแลสภาพแวดล้อมเพื่อป้องกันความเสี่ยงทั้งหลาย/มีการดูแลความปลอดภัยในการทำงาน
11. ครูทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษา ให้ความช่วยเหลือ และผู้แนะนำ
12. เน้นการจัดประสบการณ์ใหม่ ๆ แทนแบบเดิม ๆ
13. การจัดการเรียนรู้ตลอดหน่วย สะท้อนเป้าหมายการเรียนรู้หลักที่เป็นสาระสำคัญเสมอ ทั้งในกิจกรรมย่อย และภาพรวมทั้งหน่วย
การประเมินหน่วยการเรียนรู้
            เมื่อครูผู้สอนออกแบบการจัดการเรียนรู้เรียบร้อยแล้ว ควรให้ผู้เชี่ยวชาญ(ครูสอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้เดียวกัน)อย่างน้อย 3 คน ช่วยกันตรวจสอบความถูกต้อง เหมาะสมของหน่วยการจัดการเรียนรู้ที่จะนำไปจัดการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน โดยอาจจะใช้แบบประเมิน ดังนี้
จัดทำหน่วยการเรียนรู้ โดยนำแต่ละหน่วยการเรียนรู้จากโครงสร้างรายวิชามาออกแบบ
การจัดการเรียนรู้ โดยใช้เทคนิค Backward Design ดังตัวอย่างหน่วยที่ 5 พลังงานและไฟฟ้าปัจจัยพื้นฐานของชีวิต
ชื่อหน่วยการเรียนรู้   “พลังงานและไฟฟ้าปัจจัยพื้นฐานของชีวิต”
เป้าหมายการเรียนรู้
         
สาระสำคัญ
การใช้ไฟฟ้า และการต่อวงจรไฟฟ้าเพื่อการใช้ประโยชน์เฉพาะให้เหมาะสมอย่างระมัดระวัง ทำให้สามารถใช้ประโยชน์จากไฟฟ้าอย่างประหยัด  ปลอดภัย  และมีประสิทธิภาพ  
คุณลักษณะ
1.  ใช้พลังงานไฟฟ้าในชีวิตประจำวันอย่างปลอดภัย
2.  ใช้ไฟฟ้าอย่างประหยัด
หลักฐานที่เป็นผลการเรียนรู้  หน่วย “พลังงานและไฟฟ้าปัจจัยพื้นฐานของชีวิต”
ออกแบบการจัดการเรียนรู้ โดยดำเนินการ ดังนี้
1.         จัดลำดับหลักฐานที่เป็นผลการเรียนรู้
1.1 ทดลองการต่อวงจรไฟฟ้าอย่างง่าย
1.2 เขียน Mind  map สรุปการต่อวงจรไฟฟ้าอย่างง่าย
1.3 ทดลองสมบัติตัวนำไฟฟ้าและฉนวนไฟฟ้า
1.4 เขียน Mind  map สรุปคุณสมบัติของตัวนำไฟฟ้า และฉนวนไฟฟ้า
1.5 ทดลองการต่อเซลล์ไฟฟ้าแบบอนุกรม
1.6 เขียน Mind  map สรุปการต่อเซลล์ไฟฟ้าแบบอนุกรม
1.7 ทดลองการต่อหลอดไฟฟ้าแบบอนุกรมและขนาน
1.8 เขียน Mind  map สรุปการต่อเซลล์ไฟฟ้าแบบอนุกรม และแบบขนาน
1.9 ทดลองการเกิดสนามแม่เหล็กไฟฟ้า
1.10 เขียน Mind  map สรุปการเกิดสนามแม่เหล็กไฟฟ้า
1.11 เขียนรายงานการใช้พลังงานไฟฟ้าในชีวิตประจำวัน
1.12 เขียนแผนภูมิออกแบบการต่อวงจรไฟฟ้าสำหรับบ้าน 1 หลังที่มี 1 ห้อง โดยให้มีการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าอย่างประหยัด
การออกแบบการเรียนรู้ เป็นการออกแบบที่มีเป้าหมายความเข้าใจในการเรียนรู้ ผู้ออกแบบหรือผู้สอนจึงต้องคิดอย่างนักประเมินผล ตระหนักถึงหลักฐานของความเข้าใจทั้ง 6 ด้าน ที่ชัดเจนและลึกซึ้ง โดยผู้เรียนสามารถอธิบาย แปลความ ในการนำไปประยุกต์ใช้ การออกแบบการเรียนรู้จึงเป็นการส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความสามารถ ในการแสดงความสามารถการนำเสนอมุมมองได้อย่างหลากหลาย ดังนี้
1.  ความสามารถในการอธิบาย ผู้เรียนสามารถอธิบาย ด้วยหลักการที่เป็นเหตุและผล อย่างเป็นระบบ
การประเมินผล ใช้วิธีการพูดคุยเพื่อประเมินเหตุผลจากการอธิบายของผู้เรียน  การมอบหมายงานที่ใช้ทักษะการเขียน การเรียงความ หรือย่อความ  การสอบถามถึงประเด็นที่ผู้เรียนมักสับสนหรือหลงประเด็น  การให้ผู้เรียนสรุปประเด็นการเรียนรู้   และการสังเกตลักษณะคำถามที่ผู้เรียนสอบถาม
2.  ความสามารถในการแปลความ ผู้เรียนสามารถแปลความได้ชัดเจน และตรงประเด็น
การประเมินผล  ใช้วิธีการให้ผู้เรียนเขียนสะท้อนเรื่องราว แนวคิด หรือทฤษฎี เพื่อประเมินเกี่ยวกับการลำดับ ไล่เรียง และความชัดเจนของสาระเนื้อหา
3.  ความสามารถในการประยุกต์ใช้ ผู้เรียนสามารถนำไปปฏิบัติใช้ได้อย่างถูกต้องและครอบคลุม
การประเมินผล  ใช้วิธีการให้ผู้เรียนนำความรู้ไปใช้ในสถานการณ์ที่กำหนดวัตถุประสงค์เฉพาะ  การให้ผู้เรียนประเมินหรือเขียนข้อมูลป้อนกลับจากการนำความรู้ไปใช้
4.  ความสามารถในการมองมุมที่หลากหลาย ผู้เรียนสามารถเสนอมุมมองใหม่ ที่ทันสมัยและน่าเชื่อถือ
การประเมินผล  ใช้วิธีการวิเคราะห์วิจารณ์ โดยให้ผู้เรียนเปรียบเทียบข้อดี-ข้อเสีย แนวทางในการคิด การมองจากสถานการณ์ตัวอย่าง
5.  ความสามารถในการเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่น ผู้เรียนมีความพร้อมในการรับฟังและสนองตอบ
การประเมินผล  ใช้วิธีการให้ผู้เรียนประเมินความสามารถในการสมมติ การเข้าไปนั่งในใจผู้อื่น
6.  ความสามารถในการเข้าใจตนเอง ผู้เรียนมีความใส่ใจ พร้อมปรับตัวรับการเรียนรู้ใหม่
การประเมินผล  ใช้วิธีการให้ผู้เรียนประเมินเปรียบเทียบผลงานของตัวเองแต่ละช่วงเวลา มีความรู้และเข้าใจมากขึ้น
ทฤษฎี​​​​​ การออกแบบระบบการเรียนการสอน​​​​​ (Instructional System Design : ISD) ซึ่ง​​​​​​​​​เป็น​​​​​​​​​เนื้อหาที่รายวิชา​​​​​​​​​ได้​​​​​​​​​นำ​​​​​​​​​เสนอ​​​​​​​​​ไว้​​​​​ ​​​​​ใน​​​​​​​​​สัปดาห์ที่​​​​​ 3 โดย​​​​​​​​​นำ​​​​​​​​​เสนอรูปแบบของระบบการเรียนการสอนมีหลายรูปแบบ​​​​​ แต่ละรูปแบบสรุป​​​​​​​​​แล้ว​​​​​ ​​​​​อยู่​​​​​​​​​ใน​​​​​​​​​กรอบของ​​​​​ ADDIE Model (Analysis, Design, Development, Implementation, Evaluation)
กระบวนการจัดการเรียนการสอน​​​​​​​​​โดย​​​​​​​​​ส่วน​​​​​​​​​ตัว​​​​​ ​​​​​เมื่อ​​​​​​​​​ได้​​​​​​​​​รับมอบหมาย​​​​​​​​​จาก​​​​​​​​​ภาควิชา​​​​​​​​​ให้​​​​​​​​​รับผิดชอบสอน​​​​​​​​​ใน​​​​​​​​​รายวิชา​​​​​​​​​ใด​​​​​ ​​​​​ก็​​​​​​​​​จะวางแผนการสอน​​​​​ สิ่งแรกที่​​​​​​​​​ต้อง​​​​​​​​​ทำ​​​​​ ​(​​​​​เป็น​​​​​​​​​ข้อบังคับของฝ่ายวิชาการของมหาวิทยาลัย) ​​​​​คือ​​​​​ ​​​​​ต้อง​​​​​​​​​ส่ง​​​​​ แนวการสอน​​​​​​​​​หรือ​​​​​​​​​แผนการสอน​​​​​ (Course Syllabus) ตลอด​​​​​​​​​ทั้ง​​​​​​​​​ภาคเรียน​​​​​ ซึ่ง​​​​​​​​​อาจมีรายละ​​​​​​​​​เอียดที่​​​​​​​​​แตกต่าง​​​​​​​​​กัน​​​​​​​​​บ้าง​​​​​ ​​​​​ใน​​​​​​​​​แต่ละสถาบัน​​​​​ แต่​​​​​​​​​ส่วน​​​​​​​​​ใหญ่​​​​​​​​​น่า​​​​​​​​​จะ​​​​​​​​​เป็น​​​​​​​​​แผนการสอน​​​​​​​​​โดย​​​​​​​​​คร่าว​​​​​ ​​​​​ๆ ส่วน​​​​​​​​​ประกอบ​​​​​ ได้​​​​​​​​​แก่
ข้อมูลเกี่ยว​​​​​​​​​กับ​​​​​​​​​รายวิชา​​​​​ คำ​​​​​​​​​อธิบายรายวิชา จุดประสงค์​​​​​​​​​ทั่ว​​​​​​​​​ไป แผนการสอนแต่ละบท/สัปดาห์​​​​​ ​​​​​ที่ประกอบ​​​​​​​​​ด้วย จุดประสงค์​​​​​​​​​เชิงพฤติกรรม​​​​​ ​​​​​เนื้อหา​​​​​ (หัวเรื่องหลัก​​​​​​​​​และ​​​​​​​​​หัวเรื่องรอง) กิจกรรม​​​​​​​​​และ​​​​​​​​​วิธีการสอน สื่อการเรียนการสอน​​​​​ ชื่อตำ​​​​​​​​​รา​​​​​​​​​หรือ​​​​​​​​​หนังสื่อที่​​​​​​​​​ใช้​​​​​​​​​ประกอบ​​​​​ ​​​​​และ​​​​​ ​​​​​เกณฑ์การวัด​​​​​​​​​และ​​​​​​​​​ประ​​​​​​​​​เมินผลกระบวนการเขียนแผนการสอนนี้​​​​​ ผมคิดว่า​​​​​​​​​เป็น​​​​​​​​​กระบวนการออกแบบระบบการเรียนการสอน​​​​​เพียงแต่​​​​​​​​​ไม่​​​​​​​​​ได้​​​​​​​​​แบ่งแยกขั้นตอน​​​​​​​​​ให้​​​​​​​​​ชัดเจน​​​​​ ​​​​​และ​​​​​​​​​บางขั้นตอน